Skip to content

เลขบัตรประชาชน ใบกำกับภาษี นโยบายความเป็นส่วนตัว


3 คำนี้มาเกี่ยวข้องกันอย่างไร??

เรื่องมันมาจากเมื่อวันก่อนนี้ ผมติดต่อซื้อสินค้าจากผู้ขายรายหนึ่ง

ถามตอบกันไปจนได้ความว่าจะซื้อสินค้ารุ่นไหน ราคาเท่าไหร่ มาลงท้ายที่ผู้ขายขอเลขบัตรประจำตัวประชาชนของผมด้วย ผมถามไปทันควัน “เอาไปทำรัยอ่ะ”

ได้รับคำตอบจากผู้ขายทันทีเช่นกันว่า “เอาไปออกใบกำกับภาษีอ่ะดิ”

ผมก็นึกต่อว่า “จิงเหอ สรรพากรสั่งอะไรเพี้ยน ๆ อย่างนี้จริง ๆ เร้อ…”

ไม่รอช้า ค้นบนเน็ตไม่นาน ก็พบคำถามลักษณะเดียวกันนี้ มีคนเป็นจำนวนมาก รู้สึกแปลกใจและสงสัยว่า ร้านค้า/บริษัท จะเอาสำเนาบัตรหรือเลขบัตรประชาชนของเราไปทำแป๊ะอะไร   นี่มันข้อมูลส่วนตัวของเราไม่ใช่เหรอ จะเปิดเผยกันง่าย ๆ ได้ไง

เรื่องแรกเลยนะครับ อันนี้ร้านค้า/บริษัทควรรู้ไว้

ผมว่าจริง ๆ แล้ว หลายบริษัทอาจจะรู้อยู่แล้วก็ได้ คือ ใบกำกับภาษี ไม่ต้องใส่เลขบัตรประชาชนลงไปนะครับ ตามประมวลฯ มาตรา 86/4 เรื่องการออกใบกำกับภาษี ก็ระบุไว้ชัดเจนนะครับ เราใส่เลขผู้เสียภาษีเฉพาะผู้ประกอบการจดทะเบียน บุคคลธรรมดาเอาแค่ชื่อกับที่อยู่ก็พอ และยังมีหนังสือสรรพากร 0702/8755 ย้ำอีกด้วย พูดเรื่องเดียวกัน วินิจฉัยชัดเจนว่า บุคคลธรรมดา ไม่ต้องใส่เลขผู้เสียภาษี อ่านเพิ่มจากที่นี่ครับ Click Here !

*** หมายเหตุ: เลขบัตรประชาชน ก็คือเลขผู้เสียภาษีนะครับ ***

ลองนึกภาพว่า จะเกิดอะไรขึ้นถ้าสรรพากรมีคำสั่งออกมาว่า ต่อไปนี้ให้ร้านค้า/บริษัท ที่จะขายของให้บุคคล จะต้องใส่เลขบัตรประชาชนของลูกค้าบนใบกำกับภาษีด้วย โอ้ว…พวกเราจะได้สนุกกันทั้งวันล่ะครับ กินข้าวก็ยื่นบัตรประชาชน ซื้อของก็ยื่นบัตรประชาชน เติมน้ำมันยังวายต้องยื่นบัตรประชาชน ออกจากบ้าน ติดบัตรประชาชนมันที่หน้าอกซะเลยดีมะ

สรุปว่า บัดเดี๋ยวนี้ ไม่มีข้อบังคับให้ใส่เลขบัตรประชาชนลงในใบกำกับนะครับ ส่วนมากบริษัท/ห้างร้านก็มักจะอ้างกันว่า “ซอฟต์แวร์บังคับให้ใส่ ถ้าไม่ใส่จะออกใบกำกับไม่ได้” อันนี้ก็คงจะต้องทำมึน ๆ กันไป “ไม่เป็นไร สบาย ๆ ” ตามวิถีไทยมั้งครับ

จริง ๆ แล้วบริษัทเอกชนที่ขอดูบัตรประชาชนของเรา แถมยังเอาไปเป็นฐานข้อมูลของเขาอีก ก็มีไม่น้อยนะครับ ธนาคารทุกแห่ง บริษัทมือถือทุกค่าย แต่ที่น่าสนใจคือ บริษัทเหล่านั้นเขามีนโยบายความเป็นส่วนตัว ลองเอาคำนี้ไปค้นใน Google ดูนะครับ “นโยบายความเป็นส่วนตัว ธนาคาร” ทุกธนาคารมีประกาศนโยบายความเป็นส่วนตัวเอาไว้บน web ครับ

จะว่าไปแล้ว ที่ไหนก็ตามที่จะขอข้อมูลส่วนตัวของเรา ต้องมีนโยบายนี้ประกาศไว้ชัดเจนให้เราได้รับทราบครับ

“เพ่ ๆ เพ่เงินเดือนเท่าไหร่ ทำงานที่ไหน พักที่ไหน ห้องอะไร ชั้นไหน มีแฟนยัง แฟนหน้าตาไง มีลูกเป่า กี่คน กี่ขวบ ลูกเรียนที่ไหน”

ถ้าถูกถามอย่างนี้จากใครก็ไม่รู้ที่ป้ายรถเมล์ คงไม่มีใครยอมบอก ถูกมั้ยครับ ความเป็นส่วนตัวมันสำคัญมากนะครับ เพราะมันเลยเถิดไปถึงความปลอดภัยของชีวิต ทรัพย์สิน ของเราและครอบครัว

นโยบายความเป็นส่วนตัวสำคัญอย่างไร ลองสมมติกันดูว่า วันหนึ่งมีข่าวว่า ฐานข้อมูลบัตรประชาชนรั่วไหลจากบริษัทแห่งหนึ่ง แล้วทางบริษัทตอบนักข่าวว่า “บริษัทของเราไม่เคยมีนโยบายความเป็นส่วนตัว ลูกค้าเรายินดีมอบข้อมูลให้เรา โดยไม่ได้มีเงื่อนไขอะไรกับเรา เราจะทำอะไรกับข้อมูลพวกนั้นก็ได้ ข้อมูลจะโดนขโมยก็เรื่องของเรา” ได้ฟังแบบนี้ มันจี๊ดมั้ยครับ

มันจึงดูดีกว่ากันมาก เวลาที่ใครจะให้เรากรอกแบบฟอร์มที่มีการป้อนข้อมูลส่วนตัว แล้วเขาจะมี “นโยบายความเป็นส่วนตัว” ให้เราอ่าน เราจะได้เข้าใจว่า บริษัทนั้นมีความตั้งใจที่จะรักษาข้อมูลของเราไม่ให้รั่วไหล และไม่เอาข้อมูลของเราไปหาประโยชน์ในด้านอื่น นอกจากที่ได้แจ้งกับเราแล้วเท่านั้น แบบนี้อุ่นใจขึ้นมาหน่อยครับ เขารับปากเราแล้วตามนโยบาย เราก็พอจะยินยอมให้ข้อมูลส่วนตัวของเรากับเขาได้

แม้ผิดนโยบายจะไม่เท่ากับผิดกฎหมาย แต่วันหนึ่งถ้ามันเกิดเรื่องข้อมูลรั่วไหล และเราได้รับความเสียหายขึ้นมา นโยบายนี้จะเป็นสิ่งที่คุ้มครองเรา และชี้นิ้วไปว่า ใครที่ทำผิด คนให้ข้อมูลส่วนตัวที่ให้โดยไม่คิด หรือ คนได้รับข้อมูลส่วนตัว ที่ไม่รักษามันไว้เป็นอย่างดี แต่ดันเอาไปหาประโยชน์ซะเละเทะ ทั้ง ๆ ที่รับปากแล้วว่า จะไม่ทำอย่างนั้น

ดังนั้น ถ้าเราทำงานในบริษัทที่ขอข้อมูลส่วนตัวของคนอื่น และยังไม่มีนโยบายความเป็นส่วนตัว ก็เรียกประชุมกันภายในแล้วก็ร่างนโยบายกันออกมาครับ จะเริ่มต้นด้วยการลอกจากคนอื่นมาบ้าง ก็ยังดีกว่าไม่มีเลย ทำเสร็จแล้วก็ประกาศใช้ภายในองค์กร ปฏิบัติกับข้อมูลของผู้อื่นตามนโยบายที่ประกาศ และประกาศให้คู่ค้า/ลูกค้าทราบ โชว์ความเหนือของบริษัทเรากันหน่อยครับ

ย้ำก่อนครับ บริษัทไม่ใช่ผู้ร้าย แต่มักตกเป็นเหยื่อของการขโมยข้อมูล อย่างน้อยนโยบายความเป็นส่วนตัว ก็ช่วยให้บริษัทเพิ่มความระมัดระวังมากขึ้น ทีนี้เราเองจะมอบข้อมูลส่วนตัวให้ใคร ก็สบายใจกว่าที่จะมอบให้กับบริษัทที่มีนโยบายแบบนี้ ถูกมั้ยครับ ส่วนบริษัทที่ไม่มีนโยบายความเป็นส่วนตัว แล้วจะมาขอสำเนาบัตรประชาชนเพื่อไปออกใบกำกับฯ ผมคงต้องขอคิดหนัก ๆ หน่อย  ระหว่างคิดก็ขอไปดูสินค้าจากบริษัทอื่นไปพลาง ๆ ก่อนครับ

….ท้ายที่สุดนี้ อยากจะบอก รปภ. ตามตึกจริง ๆ เลยว่า “เลิกแลกบัตรประชาชนซะที จะได้มั้ย”

อย่ารอให้เกิดแล้วจึงมาป้องกัน จะดีกว่าไหมถ้าเพิ่มความปลอดภัยให้กับบริษัทของท่านตั้งแต่วันนี้ เราพร้อมให้คำปรึกษา

Line@

@optimusthailand

Facebook Messenger

facebook/optimusthailand

สินค้าที่เกี่ยวข้อง

  • OPT-Solution PDPA

    OPT-Solution PDPA

    PDPA ย่อมาจาก “Personal Data Protection Act” PDPA เป็นกฎหมายที่กำหนดหน้าที่ในการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของเจ้าขอ

    OPT-Solution, Security

SHARE TO:

Share on facebook
Facebook
Share on twitter
Twitter
Share on linkedin
LinkedIn
Share on email
Email