Skip to content

มาอีกแล้ว Microsoft Store ปลอม ที่มาพร้อม Malware แฮกข้อมูล

ยังคงอยู่ในช่วงว่างเว้นจากการทำงานหลักซะส่วนใหญ่ เพราะตอนนี้ยังคงตกอยู่ในสถานการณ์ที่เหล่าผู้ร้ายทั้งหลายออกแรงลงทุนโจมตี และสรรหาวิธีการ หรือลู่ทางใหม่ ๆ มาคอยหลอกลวงผู้ใช้งานทั่วไปอยู่เรื่อยๆ (เอ๊ะ หรือนี่จะคืองานหลัก) เพราะล่าสุดก็มีข่าวออกมาให้เสียวสันหลังกันอีกแล้ว เพราะตอนนี้มีคนโดนโจมตีจากการเข้าไปใช้งานและดาวน์โหลดแอปจาก Microsoft Store ซะแล้ว

พวกผู้ร้ายเหล่านี้ ดูท่าจะว่างมาก ถึงขนาดลงทุนสร้างหน้าเว็บ Microsoft Store ปลอมขึ้นมาเพื่อหลอกให้ผู้ใช้งาน Windows ที่จะเข้าไปดาวน์โหลดแอปหรือเกมต่างๆ ไปติดตั้ง  

ซึ่งวิธีการก็แสนจะแยบยลเพราะเจ้าผู้ร้ายเหล่านี้ ใช้วิธีสร้าง Ads หรือโฆษณาซอฟต์แวร์ หรือเกมปลอม ๆ ขึ้นมาหลอก แล้วก็ให้คนที่สนใจกดเข้าไปดู เมื่อกดที่ Ads ดังกล่าวแล้วมันก็จะเด้งไปที่หน้าเว็บ Microsoft Store ปลอมที่ทำไว้ และดันทำออกมาได้เนียนจัดจนเหมือนของจริงจนแยกไม่ออกกันเลยทีเดียว และเมื่อผู้ใช้งานหลงเชื่อกดดาวน์โหลดซอฟต์แวร์หรือเกมเพื่อมาติดตั้งในเครื่อง ก็จะได้ของแถมไปเลยฟรีๆ เป็น มัลแวร์ ประเภท Ficker หรือ FickerStealer มาแทน โดยเจ้ามัลแวร์ตัวนี้สามารถขโมยข้อมูลต่าง ๆ ใน PC ได้ ไม่ว่าจะเป็น Username หรือ Password ที่ถูกบันทึกไว้ในเว็บเบราว์เซอร์, เข้าถึงข้อความจากแอปที่ใช้, เจาะเข้า Crytocurrency Wallet, ขโมยไฟล์เอกสาร, แคปภาพหน้าจอ ฯลฯ จากนั้นจะบีบอัดข้อมูลเหล่านั้นเป็นไฟล์ Zip แล้วส่งกลับไปที่ตัวแฮกเกอร์ได้แบบที่เราไม่รู้ตัวเลย

ยังๆ ยังไม่หมดความแสบ เพราะไม่ได้มีแค่หน้าเว็บ Microsoft Store ปลอมเท่านั้น แต่พวกผู้ร้ายนี้ยังขยั๊นขยัน สร้างหน้าเว็บ Spotify ปลอม หรือหน้าเว็บบริการแปลงไฟล์เอกสารออนไลน์อีกด้วย แหมมาครบจริงๆ

แต่ . . . เหนือสิ่งอื่นใด มันก็ยังพอมีจัดสังเกตอยู่บ้าง เพราะเจ้าหน้าเว็บ Microsoft Store ปลอมนี้ ก็ยังพอที่จะเห็น Link URL แปลกๆ ทะแม่งๆ อยู่นะ

ถ้าจะมามุกนี้ ก็คงต้องระมัดระวังตัวกันเพิ่ม วิธีการที่ดีที่สุดก็คือ เราเองก็ต้องเช็คให้ชัวร์ก่อนว่าลิงค์นั้น มีที่มาที่ไปที่น่าเชื่อถือ และปลอดภัยใช่หรือไม่ และนอกจากนี้อีกหนึ่งวิธีป้องกันก็คือ หากเราไม่แน่ใจว่า Ads ที่เราสนใจ เป็นแอปหรือเกมใน Microsoft Store เป็นของจริงหรือไม่ ก็ให้ลองเข้าหน้าเว็บของ Microsoft Store หรือ Spotify เองด้วยการพิมพ์คำค้นหาจาก Google เอา หรือไม่ก็เข้าผ่านแอป Microsoft Store โดยตรงจะดีที่สุด

แต่ถ้าหากใครที่อ่านมาถึงตรงนี้ แล้วรู้สึกว่า เอ เหตุการณ์มันดูเหมือนตัวเราจะโหลดมาเรียบร้อยแล้ว หรือใครที่เผลอ กดดาวน์โหลดไฟล์แล้วได้เป็นมัลแวร์มา ทางแก้ง่ายๆ ขั้นแรก ก็คือ คุณควรรีบเปลี่ยน Password ต่าง ๆ ทันที และเข้าไปเช็ค Firewall เพื่อมองหา Port Forwad แปลก ๆ ที่เราไม่ได้ตั้งเอาไว้เนื่องจากเจ้าผู้ร้ายนี้มันจะเตรียมส่งไฟล์ข้อมูลที่ขโมยกลับไปนั่นเอง จากนั้น อย่ารอช้ารีบสั่งการ Antivirus ประจำเครื่องของคุณเพื่อสแกนเครื่องและทำลายมัลแวร์ดังกล่าวทิ้งซะ

นอกจากนี้แล้ว ออพติมุสก็อยากจะแนะนำให้รู้จักกับ DNSWatchGO ซึ่งเป็นตัวช่วยให้กับคุณเพื่อป้องกันและปกป้องจากการหลอกลวงทางอินเตอร์เน็ต (Phishing) ในรูปแบบของ Cloud-based service หลักการทำงานของ DNSWatchGO คือจะทำหน้าที่กรองข้อมูลของ DNS ของเว็บไซต์ เพื่อตรวจจับและทำการบล็อกจากอันตรายต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น URL ปลอม หรือ Virus ,Ransomware ที่แอบแฝงในเว็บ ที่ต้องการจะมาโจมตีของเรา

จุดประกายโดย : คุณ จิตร์ธีรา กิตติพัฒน์ธนคุณ

หากท่านต้องการปรึกษาเพื่อให้ทางออพติมุสแนะนำอุปกรณ์/โซลูชั่นด้านความปลอดภัยให้เหมาะสมกับองค์กรของท่าน เราพร้อมยินดีให้คำปรึกษาติดต่อแผนก Marketing

Tel : 02-2479898 ต่อ 87 

SHARE TO:

Share on facebook
Facebook
Share on twitter
Twitter
Share on linkedin
LinkedIn
Share on email
Email