Skip to content

เอ๊ะ!! แล้วเราต้องใช้ Wi-Fi กี่ตัวดีละ ให้ Wi-Fi Calculator ช่วยคำนวนได้

คำถามสำคัญที่จะถูกหยิบยกขึ้นมา เมื่อต้องคำนวนเงินลงทุนใน Wi-Fi คือ จำนวน AP ที่ใช้จะต้องมีจำนวนกี่ตัวเพื่อให้ครอบคลุมพื้นที่และเชื่อมต่อได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งนี้คำตอบอาจแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับปัจจัยแวดล้อมต่างๆ เช่น ขนาดของพื้นที่ จำนวนผู้ใช้งาน จำนวนอุปกรณ์ต่อคนที่ใช้ รวมไปถึงแอปพลิเคชันที่จะทำงานบน WiFi

ในบทความนี้ พี่ๆ จะพอเห็นไอเดียที่จะช่วยในการกำหนดจำนวนจุด WiFi ที่เหมาะสม สอดคล้องกับความต้องการเฉพาะของเรา เพื่อให้มั่นใจว่าเครือข่ายไร้สายที่ต้องการติดตั้งนั้นมีประสิทธิภาพและครอบคลุมพื้นที่ใช้งานทั้งหมด

ข้อมูลเบื้องต้นที่ต้องรู้ก่อนเกี่ยวกับการประเมินจำนวน AP ที่ใช้งาน

1. ค่า RSSI (Received Signal Strength Indicator)

ค่า RSSI เปรียบคือมาตรวัดที่บอกเราว่าสัญญาณ Wi-Fi แรงหรืออ่อนแค่ไหน ลองจินตนาการว่าเรากำลังฟังวิทยุอยู่ในรถ หากเราขับอยู่ไกลจากสถานีวิทยุ สัญญาณจะอ่อนลงเสียงก็จะไม่ชัด ซึ่งคล้ายกับ RSSI ที่ใช้วัดสัญญาณ Wi-Fi ค่า RSSI จะบอกเราว่าสัญญาณระหว่างมือถือ หรือ Notebook กับ AP มีความแรงมากน้อยเพียงใด 

ค่า RSSI ที่สูงหมายถึงสัญญาณที่แรงกว่า ซึ่งมักจะตีความว่าการเชื่อมต่อ ณ จุดนั้น มีสัญญาณที่ดี ในทางกลับกัน ค่า RSSI ที่ต่ำกว่าหมายถึงสัญญาณที่อ่อนลง ซึ่งอาจทำให้อินเทอร์เน็ตช้าลงหรืออาจหลุดได้ โดยค่า RSSI ที่อยู่ระหว่าง -50 ถึง -70 dBm เป็นช่วงทั่วไปที่มือถือหรือ Notebook สามารถเชื่อมต่อกับ AP ได้ในเกณฑ์ที่ยอมรับกันโดยทั่วไป

2. จำนวน AP น้อยที่สุดที่ควรติดตั้งคิดต่อตารางเมตร

การกำหนดจำนวน AP ติดตั้งต่อตารางเมตร จำเป็นต้องพิจารณาอย่างรอบคอบจากปัจจัยแวดล้อมต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น ขนาดหรือ สภาพของพื้นที่ เทคโนโลยี Wi-Fi ที่ใช้  จำนวนอุปกรณ์ที่ต้องการเชื่อมต่อกับเครือข่าย อย่างไรก็ตาม หากต้องการค่าเริ่มต้น การประมาณคร่าวๆสำหรับพื้นที่ใช้งานโดยทั่วไป จะเป็น AP หนึ่งจุดสำหรับผู้ใช้ทุกๆ 30 คน หรือ 250-300 ตารางเมตร นอกจากนี้ตำแหน่งในการติดตั้ง AP ก็เป็นสิ่งสำคัญ การทำการสำรวจที่ไซต์หน้างานเพื่อกำหนดจำนวนและจุดติดตั้งที่เหมาะสมของ AP ที่จำเป็นสำหรับพื้นที่ที่กำหนด  ทั้งนี้ออพติมุส มีบริการคำนวนจุดติดตั้ง AP โดยทีมงานที่มีความรู้และความเชี่ยวชาญ สนใจTel : 02-2479898 ต่อ 87 Email : [email protected]

3. Bandwidth ที่ต้องการใช้งาน

WiFi ที่ต้องการใช้งานเชื่อมต่อในพื้นที่สาธารณะ (Public Area) ควรเป็น AP ใช้งานแบบ Enterprise เนื่องจากรองรับการเชื่อมต่อพร้อมกันได้จำนวนมาก รวมถึงมีความเสถียรในการใช้งานเมื่อเปรียบเทียบกับ AP ที่ใช้ตามบ้านโดยทั่วไป

4. ตำแหน่งจุดติดตั้ง

การจัดวางจุดเชื่อมต่อเป็นสิ่งสำคัญ ดีที่สุดคือวางไว้ในตำแหน่งกลาง ห่างจากสิ่งกีดขวางที่อาจรบกวนสัญญาณ แต่หากมีพื้นที่ใช้งานวัตถุประสงค์พิเศษ เช่น ในโกดังโรงงาน หรือ พื้นที่คนใช้งานแออัดมากกว่าปกติ ก็จะมี Best Practice ในการติดตั้งที่ต่างออกไป

5. Channel Selection (การเลือกช่องสัญญานใน Wi-Fi)

การเลือกช่องสัญญานใน WiFi ก็คือเหมือนกับการเลือกเลนบนถนนที่มีรถวิ่งไปมา ซึ่งบางจุดบางเวลารถเยอะ บางเวลารถน้อย เครือข่าย WiFi ก็ใช้ช่องทางที่แตกต่างกันในการสื่อสารระหว่างอุปกรณ์ นึกภาพว่าเราอาศัยอยู่ในคอนโดที่ทุกห้องมี WiFi ใช้ของตัวเอง หากทุกคนใช้ช่องสัญญานเดียวกันก็เหมือนกับว่าทุกคนขับรถอยู่ในเลนเดียวกัน ทำให้เกิดความแออัดและทำให้ความเร็วอินเทอร์เน็ตของทุกคนช้าลง นั่นเป็นเหตุผลว่าทำไมการเลือกช่องสัญญาณที่ถูกต้องสำหรับเครือข่าย WiFi ของพี่ๆจึงเป็นเรื่องสำคัญ  ทั้งนี้บนเครือข่าย 2.4GHz และ 5GHz ก็จะมีจำนวนช่องสัญญานที่แตกต่างกัน ในหลายผู้ผลิต สามารถกำหนดค่าให้การเลือกช่องสัญญาน เป็นไปอย่างอัตโนมัติได้ด้วย AI ที่มีการคำนวนการใช้งานในพืันที่นั้นแล้วประเมินผล เพื่อเลือกใช้ช่องสัญญานที่ดีที่สุดในช่วงเวลานั้นๆ ด้วย

6. ความปลอดภัย

ตรวจสอบให้แน่ใจว่าจุดเชื่อมต่อ WiFi นั้นปลอดภัยมีการตั้งรหัสผ่านและการเข้าถึงรหัสผ่านที่รัดกุม หรือมีระบบในการ Authentication ที่เหมาะสมในการใช้งานนั้นๆ

ข้อมูลเพิ่มเติมหากต้องการให้บริการเพิ่มในส่วนของ Location-based Services (LBS)

Gartner คาดการณ์ว่ามูลค่าธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับ Location-based Services (LBS) พื้นที่ในอาคารจะมีมูลค่าสูงถึง 55,000 ล้านดอลลาร์ภายในปี 2573 โดยได้แรงหนุนจากการเพิ่มขึ้นของอุปกรณ์ IoT ทั้งนี้ Wi-Fi จะถูกนำมาใช้แพร่หลายในอุตสาหกรรมต่างๆ เพื่อช่วยปรับปรุงประสิทธิภาพด้านไอทีและประสบการณ์ของผู้ใช้ โดยสิ่งที่ต้องพิจารณาเมื่อต้องการใช้งาน LBS ได้แก่

1. ความแม่นยำ (Accuracy)

บริการ LBS ควรมีความแม่นยำเพียงพอที่จะให้ข้อมูลที่มีประโยชน์และสามารถนำไปใช้งานต่อได้อย่างเหมาะสม โดยทั่วไประยะเห็นผลที่ให้ความแม่นยำจะอยู่ที่  3 – 5 เมตร

2. ความแรงของสัญญาณ (Signal strength)

LBS จะขึ้นอยู่กับความแรงของสัญญาณ ดังนั้นควรตรวจสอบให้แน่ใจว่าจุดเชื่อมต่อมีการจัดวางอย่างมีเหมาะสม เพื่อให้มั่นใจว่ามีความแรงของสัญญาณที่สม่ำเสมอ ทั่วทั้งพื้นที่ครอบคลุม โดยเน้นวางจุดเชื่อมต่อที่ความสูง 2.5 ถึง 4.5 เมตรเหนือพื้น

3. การเทียบวัด (Calibrate)

LBS จำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องได้รับการเทียบวัดบนพื้นที่ใช้งาน เพื่อให้แน่ใจว่าข้อมูลที่จะส่งกลับมาถูกต้อง โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับพื้นที่เปิดโล่งกว้าง เช่น ล๊อบบี้ในห้างสรรพสินค้าหรือคลังสินค้าเป็นต้น

4. ความเป็นส่วนตัว (Privacy)

บริการ LBS อาจทำให้ผู้คนเกิดข้อกังวลด้านความเป็นส่วนตัวได้ ดังนั้นจึงเป็นเรื่องสำคัญที่จะต้องตรวจสอบให้แน่ใจว่าบริษัทหรือผู้ให้บริการมีนโยบายและขั้นตอนในการเก็บและใช้ข้อมูลความเป็นส่วนตัว ได้อย่างเหมาะสม  (บริการ PDPA จาก ออพติมุส)

ข้อควรระวังเมื่อต้องการติดตั้ง Wi-Fi บนพื้นที่สาธารณะ (Public Area)

1. อย่าวางจุดเชื่อมต่อ Wi-Fi ใกล้กันเกินไป ทั้งนี้จุดเชื่อมต่อที่อยู่ใกล้กันเกินไปอาจทำให้เกิดการรบกวนกัน ส่งผลต่อความเร็วของเครือข่ายที่จะทำงานได้ช้าลง
2. อย่าใช้การตั้งค่าเริ่มต้น เนื่องจากการตั้งค่าเริ่มต้นและรหัสผ่าน (password) คาดเดาได้ง่ายและอาจทำให้เครือข่ายมีความเสี่ยงที่จะถูกแฮ็กจากผู้ไม่ประสงค์ดีก็เป็นได้
3. อย่าใช้อุปกรณ์ที่ล้าสมัย ซึ่งอาจทำให้เครือข่ายของคุณช้าลง
4. อย่าวาง Access Point ใกล้แหล่งสัญญาณรบกวน เช่น ไมโครเวฟ โทรศัพท์ไร้สาย กล้องวงจรปิดไร้สาย หรืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์อื่นๆ ที่ปล่อยสัญญานวิทยุออกมา
5. อย่าละเลยที่จะอัปเดตเฟิร์มแวร์และซอฟต์แวร์ให้เป็นเวอร์ชั่นใหม่อยู่เสมอเพื่อความปลอดภัยในการใช้งานมากสุด

ปัจจุบัน Enterprise AP หลายยี่ห้อมีจุดเด่นสำคัญที่ทำให้การเชื่อมต่อ WiFI เป็นไปได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ด้วยเทคโนโลยีเฉพาะของผู้ผลิตนั้นๆ ต่อไปนี้คือบางส่วนของเทคโนโลยีที่จะยิ่งช่วยพี่ๆ เพิ่มประสิทธิภาพ WiFi ในระบบให้ทำงานได้ดีขึ้นไปอีก

1. ChannelFly: เทคโนโลยีนี้ช่วยให้มือถือหรือโน๊ตบุ๊คสามารถเลือกช่องสัญญาณที่ดีที่สุด ได้แบบอัตโนมัติตามสภาพแวดล้อมในการใช้งาน ChannelFly จะตรวจสอบสเปกตรัมในระบบอย่างต่อเนื่องและปรับช่องสัญญาณเพื่อหลีกเลี่ยงการรบกวนเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพเครือข่าย คุณสมบัตินี้สามารถลดความจำเป็นในการเลือกช่องสัญญาณด้วยตนเองและทำให้มั่นใจได้ว่า Wi-Fi จะทำงานด้วยประสิทธิภาพที่สูงสุดอยู่เสมอ

2. BeamFlex: เทคโนโลยีนี้เป็นรูปแบบหนึ่งของเทคโนโลยีเสาอากาศแบบปรับทิศทาง ซึ่งช่วยให้ AP สามารถปรับรูปแบบของเสาอากาศได้แบบไดนามิกรวมไปถึงปรับความแรงของสัญญาณให้เหมาะสมกับพื้นที่ อีกทั้งยังลดการรบกวนของสัญญานไร้สายของสภาพแวดล้อม เมื่อเราใช้ BeamFlex ตัว AP จะโฟกัสพร้อมปรับสัญญาณไปที่อูปกรณ์ฝั่งไคลเอนต์ต่อเนื่องตลอดเวลา แม้ว่าอุปกรณ์ไคลเอนต์จะเคลื่อนที่ไปมาหรือมีสภาพแวดล้อมไร้สายที่เปลี่ยนไปอย่างไรก็ตาม

3. MU-MIMO เทคโนโลยีนี้ช่วยให้ AP สามารถส่งสตรีมข้อมูลหลายรายการไปยังไคลเอนต์หลายเครื่องได้พร้อมกัน เพิ่มปริมาณงานและ ลด Latency ในเครือข่ายลง 

4. Beamforming เทคโนโลยีที่จะช่วยให้ AP สามารถกำหนดทิศทางสัญญาณ WiFi ไปยังอุปกรณ์ไคลเอ็นต์ ปรับปรุงความแรงของสัญญานในการเชื่อมต่อ

5. Airtime Fairness: เทคโนโลยีนี้จะทำให้ผู้ใช้มั่นใจได้ว่าอุปกรณ์ที่เชื่อมต่อแต่ละเครื่องจะได้รับเวลาใช้สัญญานบนอากาศเท่ากัน ป้องกันไม่ให้อุปกรณ์ไวร์เลสตัวใดตัวหนึ่งผูกขาดสัญญานบนเครือข่ายทำให้ประสิทธิภาพของอุปกรณ์อื่นลดลง

6. Band Steering: เทคโนโลยีนี้ใช้ร่วมกับมือถือหรือโน๊ตบุ๊คที่สนับสนุนการทำงานทั้งที่เป็น 2.4GHz และ 5 GHz โดยเลือกใช้ย่านความถี่ที่ดีที่สุด (2.4GHz หรือ 5GHz) ตามความสามารถและสภาพเครือข่าย ณ เวลานั้นๆ  ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของเครือข่ายโดยรวมและลดความแออัดของย่านความถี่ที่ใช้มากและแออัด

7. Channel Bonding: เทคโนโลยีนี้คือการรวมช่องสัญญาณที่ไม่ทับซ้อนกัน มาผนวกกันเป็นช่องสัญญาณเดียวที่ให้ความกว้างของช่องสัญญานมากขึ้น เพิ่มแบนด์วิธของเครือข่ายได้สูงขึ้น

8. Fast Roaming เทคโนโลยีที่จะช่วยให้อุปกรณ์มือถือ แท๊บเล็ตสามารถสลับการใช้ไปมาระหว่าง AP ได้อย่างรวดเร็วและราบรื่นโดยไม่รบกวนการเชื่อมต่อเครือข่าย ปรับปรุงประสบการณ์ผู้ใช้สำหรับอุปกรณ์พกพาที่เดินหรือเคลื่อนที่ 

ฟรี ใช้งาน WiFi Calculator สแกน QR Code ด้านล่าง

หมายเหตุ
โปรดอ่านรายการความรับผิดชอบต่อไปนี้อย่างละเอียดก่อนที่จะใช้งาน WiFi Calculator ที่ให้บริการบนเว็บไซต์นี้

Please read the following waiver of responsibility carefully before using the Free WiFi Access Coverage Calculator (“Calculator”) provided on this website.

By using the Calculator, you acknowledge and agree that:

1. The Calculator is provided as a free tool based on publicly available data sources, including but not limited to research, manufacturer’s product specifications for WiFi access points, and our techs personal experience with guest WiFi network setups.

2. The Calculator is intended for informational purposes only, to provide a general understanding of potential WiFi access coverage areas in various settings. It is not a substitute for professional advice, consultation, or on-site measurements that may be necessary for the accurate assessment of your specific WiFi network requirements.

3. Due to the nature of different buildings and factors such as construction materials, layout, and interference from other electronic devices, the actual WiFi network setup in your location might differ from the results generated by the Calculator. We highly recommend consulting a specialist to perform on-site measurements and evaluations before implementing a WiFi network in your location.

4. We make no representations, warranties, or guarantees as to the accuracy, reliability, or completeness of the information provided by the Calculator. Any reliance you place on the information generated by the Calculator is strictly at your own risk.

5. Neither the author of this article nor AVSystem shall be held responsible or liable for any errors, omissions, or inaccuracies in the Calculator’s results, or for any actions taken or not taken based on the information provided by the Calculator.

6. You release, indemnify, and hold harmless myself and any affiliated parties from any and all claims, damages, losses, or expenses arising out of or in connection with your use of the Calculator or any decisions made based on the information generated by the Calculator.

7. You have read and understood this waiver of responsibility, and you accept and agree to be bound by its terms and conditions.

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม ติดต่อเจ้าหน้าที่ฝ่ายขายหรือการตลาดได้ทันที

 

Tel : 02-2479898 ต่อ 87 Email : [email protected]

เรียบเรียงเป็นภาษาไทยโดย : คุณ วุฒิชัย ปริญญานุสรณ์

สินค้าที่เกี่ยวข้อง

SHARE TO:

Share on facebook
Facebook
Share on twitter
Twitter
Share on linkedin
LinkedIn
Share on email
Email