Skip to content

6 ฟีเจอร์หลักที่ทำให้เราต้องมี Firewall เพื่อป้องกันภัยไซเบอร์บนโลกยุคใหม่

ในโลกยุคใหม่ที่การเชื่อมต่อจำเป็นต่อการทำงานและชีวิตประจำวัน พบว่าภัยทางไซเบอร์ต่างๆก็แฝงตัวและพร้อมซุ่มโจมตีเวลาที่เราเผลอและไม่ระวัง การโจมตีเกิดขึ้นกับหน่วยงานหรือบริษัทในหลายรูปแบบ เช่น Viruses, Backdoors, Denial of Service (DoS) Attacks, Macros, Remote Logins, Phishing emails, Social Engineering หรือแม้กระทั่ง Spam ต่างๆ ทั้งนี้เครื่องมือสำคัญที่ใช้เพื่อป้องกันภัยดังกล่าว ได้แก่ “Firewall” นั่นเอง

Firewall คืออะไร

Firewall คืออุปกรณ์รักษาความปลอดภัยบนเครือข่ายที่กั้นป้องกันระหว่างเครือข่ายภายในและภายนอก อยู่ในรูปแบบที่เป็น Appliance หรือเป็นซอฟต์แวร์ลงบนเซิร์ฟเวอร์ มีวัตถุประสงค์หลักคือการควบคุม ตรวจสอบ กรองข้อมูลขาเข้าและขาออกของเครือข่าย โดยกำหนดตามกฎความปลอดภัยที่ตั้งเอาไว้ ซึ่งจากกฎเหล่านี้ Firewall จะตรวจสอบแพ็กเกจข้อมูลและกำหนดว่าจะให้ผ่านหรือบล็อค เข้าหรือออกอย่างไร

6 ฟีเจอร์หลักบน Firewall ที่ควรมีเพื่อป้องกันภัยทางไซเบอร์บนโลกยุคใหม่

1. Traffic control:

ช่วยควบคุมการไหลของข้อมูลที่วิ่งบนเครือข่ายโดยกรองและบล็อคการเชื่อมต่อขาเข้าและขาออกที่ไม่น่าเชื่อถือหรือมีความเสี่ยงที่อาจเป็นอันตราย รวมไปถึงช่วยป้องกันการเข้าถึงของผู้ใช้ที่ไม่ได้รับอนุญาตในการเรียกดูข้อมูลรวมไปถึงทรัพยากรบางอย่างที่เป็นชั้นความลับ

ตัวอย่าง: ทีมวิจัยออกแบบผลิตภัณฑ์ ที่มีการส่งข้อมูลขนาดใหญ่ไปยังลูกค้าและซัพพลายเออร์ตลอดเวลา พวกเขาใช้ Firewall เพื่อควบคุมการไหลของข้อมูลในระบบเพื่อให้แน่ใจว่าเฉพาะข้อมูลที่ปลอดภัยและไม่เป็นอันตรายเท่านั้นที่ได้รับอนุญาตให้มีการส่งผ่านบนเครือข่าย โดย Firewall จะจำกัดการแลกเปลี่ยนข้อมูลที่ไม่เกี่ยวข้องหรือที่ไม่จำเป็นออกไป เพื่อลดโอกาสในการเกิดความเสี่ยง รวมถึงป้องกันการเข้าถึงการออกแบบที่เป็นความลับเฉพาะผู้เกี่ยวข้องเท่านั้นได้อีกด้วย

2. Access control:

Firewall จะปฏิบัติกฎที่วางไว้ตามนโยบายความปลอดภัยอย่างเคร่งครัด ระบบจะจำกัดการเข้าถึงของแอปพลิเคชันบางอย่าง รวมถึงบริการบนพอร์ตตามบทบาทและสิทธิของผู้ใช้ ซึ่งจะช่วยให้บริษัทมั่นใจได้ว่าเฉพาะบุคคล หรืออุปกรณ์บางอย่างเท่านั้นที่ได้รับอนุญาตเพื่อเข้าถึงทรัพยากรที่สำคัญภายในเครือข่ายของบริษัท

ตัวอย่าง: หน่วยงานความมั่นคง ที่มีข้อมูลที่สำคัญและต้องการความปลอดภัยสูงสุด เพื่อป้องกันการเข้าถึงสำหรับผู้ที่ไม่รับอนุญาต Firewall จะกำหนดกฎที่ชัดเจนเพื่อให้เฉพาะผู้ใช้ที่ได้รับอนุญาตเท่านั้นที่สามารถเข้าถึงข้อมูลที่สำคัญได้ รวมไปถึง Firewall อาจกำหนดกฎที่บล็อกการเข้าถึงเว็บไซต์ที่ไม่เกี่ยวข้องกับงานหรือการใช้งานที่เป็นอันตรายเช่นเว็บพนัน เว็บโป๊ได้อีกด้วย

3. Network segmentation:

ช่วยให้เครือข่ายถูกแบ่งเป็นส่วนๆ ซึ่งประกอบไปด้วยการแบ่งเซกเมนต์หรือเน็ตเวิร์กย่อยๆ ที่จะช่วยแยกแผนกต่างๆ บริการบนเครือข่ายหรือกลุ่มผู้ใช้ต่างๆ โดยวิธีนี้จะช่วยเพิ่มการรักษาความปลอดภัยขึ้นไปอีกขั้นหนึ่ง และแม้หากเซกเมนต์หนึ่งใดถูกบุกรุก Firewall จะป้องกันผู้โจมตีไม่ให้ย้ายข้ามไปโจมตียังเซกเมนต์อื่นๆ ต่อไปได้ ส่งผลเพื่อการป้องกันข้อลุกลามที่ควบคุมไม่ได้

ตัวอย่าง: บริษัทเอ็นเตอร์ไพรซ์ขนาดกลางและใหญ่ที่มีหน่วยงานเกี่ยวข้องกันเป็นจำนวนมาก มีโครงสร้างเน็ตเวิร์คที่ซับซ้อนและต้องการความปลอดภัยที่สูงขึ้น จะพบการใช้ Firewall เพื่อแบ่งเครือข่ายออกเป็นโซนหรือเซกเมนต์ที่แยกกัน จะช่วยลดความเสี่ยงในกรณีที่มีการเข้าถึงที่ไม่ได้รับอนุญาตหรือหากเกิดการโจมตีจากแฮกเกอร์ก็มี Firewall ที่กำหนดกฎตามนโยบายที่บล็อกการเคลื่อนย้ายข้อมูลระหว่างโซนที่แยกกัน ลดการแพร่กระจายหากเปิดปัญหา

4. Intrusion prevention:

Firewall จะหน้าที่ในการป้องกันการบุกรุก (IPS) ซึ่งจะทำการตรวจจับและบล็อคกิจกรรมเครือข่ายที่เป็นอันตรายแบบเรียลไทม์ ระบบเหล่านี้จะตรวจสอบทราฟฟิคของเครือข่ายตามกฎเกณฑ์ที่กำหนดไว้รวมถึงการมี AI+ML เพื่อการวิเคราะห์พฤติกรรมในการระบุความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นได้

ตัวอย่าง: บริษัทผู้ขายสินค้าออนไลน์ที่มีข้อมูลสำคัญเก็บไว้เป็นจำนวนมาก จำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องมีการป้องกันการบุกรุกแบบเรียลไทม์ ซึ่ง Firewall ที่มีระบบ Intrusion Prevention System (IPS) จะตรวจจับและป้องกันการบุกรุกที่เป็นอันตราย เช่นการสแกนพอร์ตหรือการโจมตี DDoS เป็นต้น

5. Virtual Private Network (VPN):

หนึ่งในฟีเจอร์ที่ บริษัทอยากได้มากโดยเฉพาะการทำงานที่เป็น Hybrid แบบปัจจุบัน นั่นคือ VPN ซึ่งช่วยให้พนักงานที่ทำงานจากข้างนอกหรือสำนักงานสาขาสามารถเข้าถึงเครือข่ายของบริษัทผ่านการเชื่อมต่อที่เข้ารหัสอย่างปลอดภัย และนั่นจะช่วยป้องกันข้อมูลสำคัญที่อาจถูกดักเก็บระหว่างส่งผ่านหากัน

ตัวอย่าง: ธุรกิจ SMEs ที่มีทีมขาย ทีมซัพพอร์ต อยู่ข้างนอกการทำงานระยะไกลที่ต้องการเข้าถึงทรัพยากรต่างๆของบริษัทเป็นสิ่งที่จำเป็นมาก ด้วย Firewall ที่รองรับ VPN จะทำให้พนักงานที่อยู่ข้างนอกสามารถเชื่อมต่อและสื่อสารผ่านเครือข่ายของบริษัทได้อย่างปลอดภัยผ่านอินเทอร์เน็ตสาธารณะทั่วไป

6. Logging and auditing:

Firewall จะต้องเก็บบันทึกทราฟฟิคบนเครือข่าย และสามารถแสดงผลในรูปแบบที่เข้าใจง่าย เพื่อใช้ตรวจสอบ อุปกรณ์ต่างๆ ที่เข้ามาใช้งาน เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในเน็ตเวิร์ค รวมถึงความเป็นไปได้ในการระบุรูปแบบการโจมตีที่อาจเกิดขึ้น  สามารถติดตามกิจกรรมในเน็ตเวิร์คที่น่าสงสัย และดูข้อมูลย้อนหลังหากเกิดละเมิดความปลอดภัย เพื่อส่งให้กับเจ้าหน้าที่ตำรวจได้ต่อไป

ตัวอย่าง: ทีมไอทีของบริษัทสามารถตรวจสอบกิจกรรมของเครือข่ายอย่างเป็นระบบ โดยจะใช้ Firewall เพื่อดูกิจกรรมแบบเรียลไทม์ พร้อมระบบที่บันทึกทราฟฟิคต่างๆของเครือข่ายเพื่อใช้วิเคราะห์และตรวจสอบการใช้งานของยูสเซอร์ในระบบ และใช้ข้อมูลเหล่านี้เพื่อปรับปรุงการรักษาความปลอดภัยของพวกเขาในอนาคต และเป็นหลักฐานหากมีการกระทำความผิดเกิดขึ้น

หลังจากที่เราได้พิจารณาถึงความสำคัญของ Firewall ในการรักษาความปลอดภัยของเครือข่าย ผ่านฟีเจอร์ที่สำคัญได้แก่ Traffic control, Access control, Network segmentation, Intrusion prevention, Virtual Private Network (VPN), และ Logging and auditing ด้วยความสามารถที่เหนือกว่ามีประสิทธิภาพมากกว่า ของ WatchGuard Firewall ก็จะยิ่งช่วยเพิ่มความสามารถในการรักษาความปลอดภัยให้กับเครือข่ายของคุณได้อย่างมีประสิทธิภาพและเป็นระบบ พร้อมยังมีระบบการแจ้งเตือนแบบเรียลไทม์ ที่ คุณจะได้รับการเตือนเมื่อมีการกระทำที่ไม่เหมาะสมหรือผ่านการตรวจสอบความปลอดภัยของระบบ 

สนใจว่า WatchGuard ทำได้อย่างไร ดีกว่าและเหนือกว่าแบบไหน ไม่ต้องลังเลอีกต่อไป ติดต่อเจ้าหน้าที่ของทางบริษัทเพื่อให้เราเข้าไปนำเสนอพร้อมทดสอบผลิตภัณฑ์ได้แล้ววันนี้   ออพติมุส (optimus) ตัวแทนจำหน่าย ผลิตภัณฑ์ด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์ที่มีประสบการณ์ในการดูแล และให้ความช่วยเหลือคู่ค้าและลูกค้าของเราตลอดมา ติตด่อทีม Cyber Security ของทางบริษัทเพื่อให้เข้าไปนำเสนอโซลูชั่นความปลอดภัยล่าสุดได้ตามช่องทางต่างๆ ของทางบริษัทด้านล่าง ที่แผนก Marketing 

Tel : 02-2479898 ต่อ 87 

สินค้าที่เกี่ยวข้อง

  • WatchGuard Endpoint Security

    ยกระดับการป้องกันการถูกแฮกระบบ หยุดการคุกคามจากมัลแวร์ทั้งที่รู้จักและไม่รู้จัก

    Endpoint Security, Security, WatchGuard
  • WatchGuard Multi-Factor Authentication

    โซลูชั่นการยืนยันตัวตน ในรูปแบบแอพพลิเคชั่น รองรับการใช้งานทั้งบน Apple iOS และ Android

    Multi-Factor Authentication, Security, WatchGuard
  • WatchGuard Firewall Appliances

    Next-generation Firewall ที่ถูกออกแบบมาครบถ้วนด้วยฟีเจอร์ด้านความมั่นคงปลอดภัยในอุปกรณ์เดียว

    Firewall Appliances, Security, WatchGuard

เรียบเรียงเป็นภาษาไทยโดย : คุณ วุฒิชัย ปริญญานุสรณ์

SHARE TO:

Share on facebook
Facebook
Share on twitter
Twitter
Share on linkedin
LinkedIn
Share on email
Email