Skip to content

ความปลอดภัยด้านข้อมูลสุขภาพ กับการเตรียมความพร้อมรับกฎหมาย NIS2 และอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง

NIS2

NIS2 กฎหมายความปลอดภัยไซเบอร์ฉบับใหม่ของสหภาพยุโรป ซึ่งมีผลบังคับใช้ตั้งแต่ช่วงต้นปี 2023 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อยกระดับความปลอดภัยไซเบอร์ในทุกภาคส่วน โดยเฉพาะด้านสาธารณสุข ซึ่งมีความเสี่ยงจากข้อมูลผู้ป่วยที่มีความละเอียดอ่อน เนื่องจากในปัจจุบันมีการนำข้อมูลผู้ป่วยเข้าสู่ระบบดิจิทัลและมีอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่เชื่อมต่อกันมากขึ้น ทำให้หน่วยงานด้านสาธารณสุขมีความเสี่ยงต่อการถูกโจมตีทางไซเบอร์อยู่ตลอดเวลา ซึ่งอาจทำให้ข้อมูลผู้ป่วยที่มีละเอียดอ่อนมีความเสี่ยงและอาจมีผลถึงชีวิตได้หากเกิดการหลุดรั่วไป

NIS2 กำหนดให้ผู้ให้บริการด้านสาธารณสุขต้องปฏิบัติตามข้อกำหนดความปลอดภัยไซเบอร์ที่เข้มงวด ซึ่งมีหัวข้อต่างๆ ที่สำคัญดังนี้

  • การจัดการความเสี่ยงอย่างครอบคลุม: ผู้ให้บริการด้านสาธารณสุขต้องประเมินความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น ปรับใช้มาตรการรักษาความปลอดภัย และตรวจสอบมาตรการเหล่านี้อยู่เสมอ เพื่อปกป้องข้อมูลของคนไข้ให้มีความปลอดภัยมากที่สุด

  • ภาระหน้าที่ในการรายงานเหตุการณ์: ผู้ให้บริการด้านสาธารณสุขต้องรายงานเหตุการณ์ที่สำคัญต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ที่อาจส่งผลต่อระบบเครือข่ายและระบบสารสนเทศของตน โดย NIS2 กำหนดให้ภาระหน้าที่ในการรายงานเหล่านี้ทำได้ง่ายขึ้น เพื่อให้องค์กรสามารถปฏิบัติตามได้สอดคล้องกับข้อกฎหมายที่ออกมา

  • ความปลอดภัยของ Supply Chain: NIS2 เน้นย้ำถึงความปลอดภัยของห่วงโซ่อุปทาน ซึ่งหมายถึงการรับประกันว่าซัพพลายเออร์และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องปฏิบัติตามมาตรฐานความปลอดภัยที่เข้มงวดสำหรับผู้ให้บริการด้านสาธารณสุข โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อจัดการข้อมูลผู้ป่วยหรือให้บริการที่สำคัญ

  • มาตรการกำกับดูแลที่เข้มงวด: NIS2 กำหนดให้มีมาตรการกำกับดูแลที่เข้มงวดมากขึ้น องค์กรด้านสาธารณสุขอาจเจอกับบทลงโทษหากไม่ปฏิบัติตามข้อกำหนดของกฎหมาย ซึ่งตอกย้ำถึงความสำคัญของการปฏิบัติตามแนวทางปฏิบัติที่ดีด้านความปลอดภัยไซเบอร์

การปฏิบัติตามข้อกำหนด NIS2 รวมถึงมาตราการความปลอดภัยอื่นๆ รวมถึงที่กฎเกณฑ์ต่างๆในไทยเป็นเรื่องที่ท้าทายเป็นอย่างยิ่ง โดยเฉพาะกับโรงพยาบาล หรือหน่วยงานสาธารณสุข ซึ่งมีข้อกำหนดมาก มีอุปกรณ์ที่ดูแลเกี่ยวข้องเยอะ แต่จำนวนคนไม่ได้มากตามปริมาณงาน ทั้งนี้ทีมไอทีไม่จำเป็นต้องทำเรื่องดังกล่าวแต่เพียงฝ่ายเดียว  GFI ผู้นำด้านระบบความปลอดภัยขอเสนอ GFI LanGuard ซึ่งเป็นโซลูชั่นที่เข้ามาช่วยรักษาความปลอดภัยเครือข่ายและระบบสารสนเทศ ด้วยคุณสมบัติที่หลากหลาย GFI LanGuard รองรับการจัดการความเสี่ยงที่ครอบคลุม ลดความยุ่งยากในการทำรายงาน และรับประกันว่าผู้ให้บริการด้านสาธารณสุขจะรักษามาตราฐานความปลอดภัยไซเบอร์ในระดับสูงได้เป็นอย่างดี

ตัวอย่างการใช้งาน GFI LanGuard เพื่อใช้งานโซลูชั่น Patch Management ในโรงพยาบาล

ทั้งนี้ก่อนการติดตั้ง GFI LanGuard ทางโรงพยาบาลนี้ ประสบปัญหาในการดูแลระบบ เนื่องจากปริมาณงานที่ล้นมือ มีอุปกรณ์และเครื่อง PC, Notebook, Tablet ต้องดูแลในหน่วยงานจำนวนมาก โดยทางโรงพยาบาลวางแผนให้มีระบบ Patch Management เนื่องจากต้องการลดงานประจำหลายอย่างลง โดยเฉพาะการจัดการเรื่อง Software ต่างๆที่ใช้งานในองค์กร ซึ่งจากที่มีจำนวนเครื่องที่เยอะทำให้คอมพิวเตอร์จำนวนมากของโรงพยาบาลไม่ได้รับการอัพเดท และติดตั้ง patch ในเวอร์ชั่นล่าสุดอย่างที่ควรจะต้องเป็น เป็นการเปิดช่องโหว่ให้แฮกเกอร์มีโอกาสเข้ามาโจมตีได้

หลังจากติดตั้ง GFI LanGuard ซึ่งการติดตั้งไม่วุ่นวาย ดูแลรักษาง่าย อีกทั้งเป็นผู้ช่วยสำคัญของไอทีในการจัดการงานด้าน Patch Management รวมถึงแสดงรายงานได้เป็นอย่างดี ทางโรงพยาบาลบริหาร patch บน Software ต่างๆได้ครอบคลุม ครบถ้วนและมีความรวดเร็วมากยิ่งขึ้น ซึ่งช่วยลดความเสี่ยงจากการโจมตีทางไซเบอร์ได้อย่างมีนัยสำคัญ

นอกจากนี้ GFI LanGuard ยังช่วยให้ทางโรงพยาบาลประหยัดเวลาและค่าใช้จ่ายในการดูแลระบบเครือข่ายและระบบสารสนเทศอีกด้วย โดยทีมงานไอทีมีเวลาในการทำงานที่มีความสำคัญมากกว่า และยังสามารถทำให้งาน Software Management ต่างๆ จัดการบริหารได้อย่างดีอีกด้วย

GFI LanGuard ช่วยให้การติดตั้งแพทช์ซอฟต์แวร์ครอบคลุมและรวดเร็วยิ่งขึ้น

GFI LanGuard ช่วยให้การติดตั้งแพทช์ซอฟต์แวร์ครอบคลุมและรวดเร็วยิ่งขึ้น

Patch ของซอร์ฟแวร์เป็นสิ่งสำคัญในการแก้ไขช่องโหว่ด้านความปลอดภัยที่ผู้ผลิตซอร์ฟแวร์ออกมาอย่างต่อเนื่องเมื่อพบช่องโหว่นั้นๆ และหากไม่มีการอัพเดทให้ทันสมัยอยู่เสมอก็อาจเป็นช่องให้ถูกแฮกเกอร์นำไปใช้ประโยชน์ได้ การอัปเดตแพทช์ซอฟต์แวร์อย่างสม่ำเสมอจึงช่วยลดความเสี่ยงจากการโจมตีทางไซเบอร์ได้ ซึ่ง GFI มีคุณสมบัติที่สำคัญคือ

  • ช่วยให้องค์กรสามารถระบุช่องโหว่ด้านความปลอดภัยในซอฟต์แวร์ที่ติดตั้งบนเครื่องคอมพิวเตอร์ทั้งหมดในเครือข่ายได้
  • ช่วยให้องค์กรสามารถกำหนดนโยบายการอัปเดตแพทช์ซอฟต์แวร์ตามแนวทางความปลอดภัยขององค์กรได้เป็นอย่างดี
  • ช่วยให้ไอทีมีเวลาเหลือมากขึ้น เนื่องจากระบบสามารถตั้งอัปเดตแพทช์ซอฟต์แวร์ต่างๆได้อย่างอัตโนมัติ

GFI LanGuard ช่วยลดความเสี่ยงจากการโจมตีทางไซเบอร์

พบว่าช่องโหว่ด้านความปลอดภัยในซอฟต์แวร์เป็นเป้าหมายหลักของแฮกเกอร์ที่ใช้เป็นเครื่องมือในการเข้าโจมตี การอัปเดตแพทช์ซอฟต์แวร์อย่างสม่ำเสมอสามารถช่วยลดความเสี่ยงจากการโจมตีทางไซเบอร์ได้ เช่นตัวอย่าง การโจมตีด้วยแรนซัมแวร์ WannaCry ที่ได้ใช้ประโยชน์จากช่องโหว่ในระบบปฏิบัติการ Microsoft Windows ซึ่งได้รับการแก้ไขแล้วสองเดือนก่อนหน้านั้น การโจมตีครั้งนั้นสร้างความเสียหายเป็นมูลค่าหลายพันล้านดอลลาร์สหรัฐและรบกวนธุรกิจทั่วโลก

GFI LanGuard ช่วยประหยัดเวลาและค่าใช้จ่ายในการดูแลระบบเครือข่ายและระบบสารสนเทศ

การอัปเดตแพทช์ซอฟต์แวร์เองอาจต้องใช้ทั้งเวลา บุคคลากร และค่าใช้จ่ายต่างๆ ในการดูแลระบบเครือข่ายและระบบสารสนเทศเป็นอย่างมาก ตัวอย่างที่เป็นรูปธรรม เช่น บริษัทแห่งหนึ่งที่มีพนักงาน 500 คน มีระบบเครือข่ายและระบบสารสนเทศที่มีเครื่องคอมพิวเตอร์ 500+ เครื่อง การอัปเดตแพทช์ซอฟต์แวร์ด้วยตนเองอาจต้องใช้พนักงาน IT อย่างน้อย 5 คน ใช้เวลาอย่างน้อย 10 ชั่วโมงต่อวัน และค่าใช้จ่ายในการอัปเดตแพทช์ซอฟต์แวร์อาจสูงถึง 50,000 บาทต่อเดือน

หากบริษัทดังกล่าวใช้ GFI LanGuard ในการอัปเดตแพทช์ซอฟต์แวร์ พนักงาน IT เพียง 2 คน ใช้เวลาเพียง 2 ชั่วโมงต่อวัน ก็สามารถอัปเดตแพทช์ซอฟต์แวร์ทั้งหมดได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งช่วยลดเวลาในการทำงานของพนักงาน IT ลง 80% และลดค่าใช้จ่ายในการอัปเดตแพทช์ซอฟต์แวร์ลง 50%

นอกจากประโยชน์ที่กล่าวมาข้างต้นแล้ว GFI LanGuard ยังมีฟีเจอร์อื่นๆ ที่ช่วยปกป้องข้อมูล เช่น การตรวจสอบความสมบูรณ์ของไฟล์ การควบคุมการเข้าถึงข้อมูล และการจัดการรหัสผ่าน เป็นต้น สนใจทดลองใช้บริการ ติดต่อทีมงานออพติมุส เพื่อนำเสนอโซลูชั่นที่เหมาะกับองค์กรของพี่ๆได้ที่แผนก Marketing 

 Tel : 02-2479898 ต่อ 87 Email : [email protected]

สินค้าที่เกี่ยวข้อง

  • GFI LanGuard

    ซอร์ฟแวร์อัจฉริยะ ตรวจและประเมินระบบไอทีง่ายเพียงปลายนิ้ว

    GFI Software, GFI Unlimited, Value Added Services
  • GFI Patch Management

    ซอฟต์แวร์วิเคราะห์และตรวจสอบการเปลี่ยนแปลงของเครือข่ายอย่างละเอียดทุก IP

    GFI Software, Patch Management, Security

เรียบเรียงเป็นภาษาไทยโดย : คุณ วุฒิชัย ปริญญานุสรณ์

SHARE TO:

Share on facebook
Facebook
Share on twitter
Twitter
Share on linkedin
LinkedIn
Share on email
Email