
จะเห็นได้ว่าความหลากหลายที่เกิดเนื่องจากแต่ละกลุ่มงานที่เข้าออฟฟิศไม่เหมือนกัน ส่งผลต่อความท้าทายงานด้านไอทีที่เกี่ยวเนื่องกับความปลอดภัยทางไซเบอร์ที่ต่างกัน ทั้งนี้จากผลสำรวจเราพบว่ามี 5 ประเด็นสำคัญสำหรับทีมไอทีที่ต้องคำนึงถึงในการบริหารระบบซิเคียวริตี้บนโลกยุคใหม่ดังนี้
ความท้าทายใหม่ด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์ที่เกิดจากการทำงานแบบไฮบริดหรือ Remote Work ซึ่งพบได้มากขึ้น หลังจากไวรัส Covid 19 ระบาดลดลง ผู้คนกลับมาใช้ชีวิตกันตามปกติ แต่สิ่งที่เปลี่ยนไปแล้วและไม่เหมือนเดิม คือสภาพแวดล้อมในการทำงาน หลายๆธุรกิจ เปิดโอกาสให้พนักงานทำงานได้จากทุกที่ (Anywhere Office) บางออฟฟิศ สลับกันเข้าที่สำนักงานแล้วแต่ตกลงกัน ปรับเป็น Hybrid Office และก็มีบางส่วนที่เข้าออฟฟิศทุกวันเนื่องจากเนื้องานไม่สามารถ Remote Work ได้เลย เช่นงานสนับสนุน ต่างๆ บัญชี การเงินเป็นต้น
5 ประเด็นสำคัญสำหรับทีมไอทีที่ต้องคำนึงถึงในการบริหารระบบซิเคียวริตี้บนโลกยุคใหม่
- การดูแลอุปกรณ์ไอทีที่มีจำนวนมากและหลากหลายขึ้น ทั้งของส่วนตัวของพนักงานเองที่นำมาใช้งานเชื่อมกับออฟฟิส รวมไปถึงระบบเครือข่ายที่พนักงานใช้รีโมทเข้ามาเมื่ออยู่บ้าน ซึ่งแน่นอนอุปกรณ์ไอทีหรือเร้าเตอร์เหล่านั้นมีความปลอดภัยน้อยกว่าระบบเครือข่ายในองค์กร จึงเป็นการเพิ่มภาระงานให้กับทีมงานไอที รวมถึงการจัดการด้านความปลอดภัยที่เป็นไปได้ยากมากขึ้น
- การขาดแคลนบุคคลากรด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์ ซึ่งงานในส่วนนี้ต้องการบุคคลากรที่มีความเชี่ยวชาญในการดูแล เนื่องจากแฮกเกอร์มีเครื่องมือที่ทันสมัยมากขึ้น การหลอกลวงต่างๆ ก็แนบเนียนจนแทบจะจับผิดไม่ได้ รวมถึงกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัยก็ซับซ้อนและเกี่ยวเนื่องกับหลายส่วนงานในองค์กรมากขึ้น
- การดูแลระบบซิเคียวริตี้แบบครบวงจร เป็นไปได้น้อยลง เพราะระบบการสั่งงานต่างๆที่ต้องปรับจากในรูปแบบเดิมที่ส่วนใหญ่นั่งทำงานในออฟฟิศมาเป็นระบบที่อนุญาตให้เข้าถึงจากภายนอก ทำให้ต้องเปลี่ยน Work Flow การทำงานหลายอย่าง จึงเป็นอุปสรรคสำคัญของทีมไอที ที่ต้องเข้าไปช่วยเหลือหน่วยงานอื่นๆ เพื่อขยายการตรวจสอบตามที่ทางหัวหน้าทีมต้องการ เนื่องจากพนักงานบางส่วนไม่ได้รับการสั่งการ ดูแลในแบบเดียวกันเหมือนตอนอยู่ออฟฟิศเมื่อทำงานจากที่บ้าน
- Phishing Attack มีความซับซ้อนมากขึ้น อย่างที่ทราบการหลอกให้เหยื่อหลงเชื่อผ่านEmailที่ดูเป็นทางการน่าเชื่อถือ หลอกล่อให้ทีมงานหลงคลิ๊กเข้าไป และยิ่งมีการใช้งาน Remote Work มากขึ้นโอกาสที่ทีมงานจะพลาดก็ยิ่งมีมากขึ้น เนื่องจากพนักงานบางส่วนมีแนวโน้มที่จะลดการป้องกันตัวลงเมื่อทำงานจากระยะไกล
- ช่องโหว่ของอุปกรณ์ พบว่า อุปกรณ์ที่จะ remote เข้ามานั้นหลายๆ device ไม่ได้ update ความปลอดภัยที่เป็น Patch ล่าสุด ซึ่งแฮกเกอร์ส่วนใหญ่ก็ใช้ช่องโหว่นี้แหละในการทะลุเข้ามาในระบบ เพื่อขยายขอบเขตความเสียหายให้กับธุรกิจต่อไป
Firewall (ไฟร์วอลล์): ปกป้องเครือข่ายของเราให้ปลอดภัย
หนึ่งในองค์ประกอบที่สำคัญที่สุดของกลยุทธ์ความปลอดภัยทางไซเบอร์คือไฟร์วอลล์ ไฟร์วอลล์ทำหน้าที่เป็นตัวกั้นระหว่างเครือข่ายของเรากับโลกภายนอก การมีไฟล์วอลล์จะทำให้เราสามารถควบคุมทราฟฟิกที่เข้าและออกจากระบบของธุรกิจได้ ด้วยการใช้ไฟร์วอลล์ เราสามารถช่วยป้องกันการเข้าถึงเครือข่ายโดยไม่ได้รับอนุญาต และบล็อกการรับส่งข้อมูลที่เป็นอันตรายก่อนที่จะก่อให้เกิดอันตรายได้
WatchGuard Firebox มีให้เลือกใช้งานตั้งแต่รุ่นเล็กเป็น Table top ที่เหมาะสำหรับธุรกิจขนาดเล็ก บ้าน หรือสำนักงานสาขา และรุ่นที่ติดตั้งบนตู้แร็คเหมาะกับองค์กรขนาดกลางใหญ่ พร้อมคุณสมบัติต่างๆ เช่น IPS, Application Control, WebBlocker, SpamBlocker, Gateway AntiVirus, ฯลฯ โดยมีระบบรักษาความปลอดภัยที่ได้รับการออกแบบมาเพื่อป้องกันอันตรายบนเครือข่ายที่มีประสิทธิภาพสูงมากในอุตสาหกรรม
EndPoint Protection (การป้องกันปลายทาง): การรักษาความปลอดภัยอุปกรณ์ปลายทางของทุกคนในองค์กร
องค์ประกอบสำคัญอีกประการของกลยุทธ์การรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์ที่ครอบคลุมแบบเบ็ดเสร็จ คือการป้องกันอุปกรณ์ปลายทาง การป้องกันปลายทางหมายในที่นี้หมายถึงมาตรการรักษาความปลอดภัยที่ใช้กับอุปกรณ์แต่ละชิ้น เช่น แล็ปท็อป เดสก์ท็อป และอุปกรณ์พกพา ต่างๆ โดยการรักษาความปลอดภัยปลายทางเหล่านี้ช่วยให้เรามั่นใจได้ว่าข้อมูลที่ละเอียดอ่อนของเรายังคงปลอดภัย ไม่ว่าอุปกรณ์ชิ้นใดชิ้นหนึ่งของพนักงานเราจะถูกบุกรุกแม้จะทำงานอยู่นอกออฟฟิศก็ตาม
WatchGuard Endpoint Protectin มีซอร์ฟแวร์ป้องกันอุปกรณ์ปลายทางหลายรูปแบบ รวมถึงซอฟต์แวร์ป้องกันไวรัส ระบบป้องกันมัลแวร์ (EPP) รวมไปถึง ซอฟต์แวร์ตรวจจับและตอบสนองปลายทาง (EDR) ซอฟต์แวร์ EDR ได้รับการออกแบบมาเพื่อตรวจจับและตอบสนองต่อภัยคุกคามขั้นสูง เช่น การโจมตีแบบ Zero-day และการโจมตีแบบกำหนดเป้าหมายอื่นๆ ที่ซอฟต์แวร์ป้องกันไวรัสแบบดั้งเดิมอาจตามไม่ทัน และ EPDR ที่รวมฟีเจอร์ ของ EPP และ EDR เข้าไว้ด้วยกัน เพื่อความปลอดภัยปลายทางขั้นสูงสุด
Multi Factor Authentication (ระบบรับรองความถูกต้องหลายชั้น) : เสริมความปลอดภัยของเราด้วยระบบล็อกสองชั้น
แม้ว่า Fiewall และ Endpoint Protection จะช่วยปกป้องเครือข่ายและอุปกรณ์ของเราได้ แต่สิ่งสำคัญที่ต้องคำนึงถึงความปลอดภัยคือบัญชีผู้ใช้ของเราด้วย ยิ่งเป็นการทำงานผ่าน Remote ที่เปิดโอกาสให้มีการโจมตีได้มากขึ้น การใช้ MFA (ระบบรับรองความถูกต้องหลายชั้น) จะกำหนดให้ผู้ใช้ต้องระบุรูปแบบการรับรองความถูกต้องตั้งแต่สองรูปแบบขึ้นไปก่อนที่จะให้สิทธิ์การเข้าถึงระบบ ทำให้ผู้ใช้ที่ไม่ได้รับอนุญาตเข้าถึงข้อมูลที่ละเอียดอ่อนได้ยากขึ้น
WatchGuard Authpoint เป็นระบบ MFA ที่ง่าย สะดวก และประหยัดงบประมาณสำหรับใช้ในองค์กร ด้วยการเปลี่ยนมือถือให้กลายเป็นเครื่องมือสำหรับใช้พิสูจน์ตัวตนแทน เพื่อลดภาระของผู้ใช้ในการหาซื้อและดูแลรักษา Hardware Tokens โซลูชันดังกล่าวมาในรูปของแอปพลิเคชันที่รองรับการใช้งานทั้งบน Apple iOS และ Android บริหารจัดการได้จากศูนย์กลางผ่านระบบ Cloud ส่งผลให้สามารถติดตั้งระบบพิสูจน์ตัวตนบนอุปกรณ์ของพนักงานได้ทั่วโลก รองรับการใช้งานร่วมกับอุปกรณ์บนเครือข่าย บริการออนไลน์ และ Cloud Applications ที่หลากหลาย โดยไม่ต้องลงทุนซื้อ Hardware Tokens หรือเซิร์ฟเวอร์สำหรับบริหารจัดการเพิ่มเติม เพื่อช่วยให้แน่ใจว่าเฉพาะผู้ใช้ที่ได้รับอนุญาตเท่านั้นที่สามารถเข้าถึงระบบของเราได้ แม้ว่ารหัสผ่านของพวกเขาจะถูกขโมยไปแล้วก็ตาม
แน่นอนว่าการใช้มาตรการรักษาความปลอดภัยเหล่านี้เป็นเพียงจุดเริ่มต้นเท่านั้น สิ่งสำคัญคือต้องอัปเดตระบบรักษาความปลอดภัยของเราอย่างสม่ำเสมอ หมั่นติดตามข่าวสารล่าสุดเกี่ยวกับภัยคุกคามและแนวโน้มด้านความปลอดภัยในโลกไซเบอร์ รวมถึงให้ความรู้แก่พนักงานของเราเกี่ยวกับแนวทางปฏิบัติที่ดีที่สุดในการรักษาความปลอดภัยในขณะที่ทำงานจากระยะไกล ด้วยการใช้วิธีการเชิงรุกในการรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์ ออพติมุสสามารถช่วยให้ทุกท่านแน่ใจว่าธุรกิจของท่านยังคงปลอดภัยเมื่อเผชิญกับภัยคุกคามทางไซเบอร์ที่พัฒนาตลอดเวลา
และหากท่านต้องการทดสอบการใช้งาน ออพติมุส (optimus) ตัวแทนจำหน่ายอย่างเป็นทางการของ WatchGuard ได้มีการจัดเตรียม Firewall, Demo Accout สำหรับ EPP และ Authpoint โซลูชั่น MFA เพื่อการทดสอบใช้งาน รวมถึงมีข้อเสนอพิเศษสุด สำหรับการให้การปรึกษาซิเคียวริตี้แบบครบวงจร รวมถึงการวาง Roadmap เพื่อความปลอดภัยอย่างยั่งยืน การ Audit ระบบในกรณีที่ท่านต้องการเข้าตลาดเป็นบริษัทมหาชนตามข้อกำหนดของประกาศที่ ทธ. 35/2556 ในส่วนที่เกี่ยวกับ ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ และประกาศที่ สธ. 37/2559* สอบถามรายละเอียดและข้อมูลในการติดต่อได้ที่แผนก Marketing
Tel : 02-2479898 ต่อ 87
Email : [email protected]
สินค้าที่เกี่ยวข้อง

เรียบเรียงเป็นภาษาไทยโดย : คุณ วุฒิชัย ปริญญานุสรณ์