Skip to content

เก็บตก Optimus Webinar Ruckus Cloud + Ruckus Analytic ระบบจัดการ Network ด้วย AI และ ML

Gartner ระบุเทคโนโลยี Cloud ในปัจจุบัน ยังเป็นช่วง Early Stage มากๆ ซึ่งตลาดปัจจุบันมีมูลค่าอยู่ราว 7.06 หมื่นล้านเหรียญ และในปี 2025 คาดว่าตลาด Cloud จะมีมูลค่าสูงถึง 1.30 แสนล้านเหรียญเลยทีเดียว แม้แต่พวกเราเองเชื่อได้ว่า จากเมือ 3-5 ปีก่อนหลายๆ คนยังไม่มั่นใจใน Cloud จะมาทดแทนได้จริงหรือไม่ มาถึงวันนี้เชื่อว่าหลายๆ ออฟฟิสใช้ cloud มาสักพักแล้ว หลายๆ ที่เริ่มใช้ตั้งแต่ช่วง covid ที่ผ่านมา ซึ่ง covid กลายเป็นตัวเร่งที่สำคัญที่ทำให้วัฒนธรรมองค์กรหลายๆ อย่างเปลี่ยนแปลงไป การ work from home การจัดการ Space ออฟฟิส สำหรับทีมที่ต้องเข้ามานั่งทำงานในออฟฟิส การ hybrid ที่จะเกิดขึ้นต่อไปในอนาคต

Ruckus Cloud

Ruckus Cloud เป็น subscription base สามารถจัดการได้ทั้ง AP และ Switch เหมาะกับการใช้งานที่เป็น  remote office หรือ Office ที่มีหลายสาขา หรือ Office ทีมีการ scale จำนวนใช้งานเพิ่มขึ้นไปเรื่อยๆ ไม่มีข้อจำกัดเรื่องขนาดของ Wireless Controller  การติดตั้งก็ไม่วุ่นวาย ดูแลรักษาง่าย มีการ Authentication ได้ในหลายรูปแบบเหมาะกับการใช้งานภายใต้สภาพที่ทำงานของ office ที่มีรูปแบบการทำงานที่ต่างกัน ไม่ว่าจะเป็นผ่าน Pre-Shared Key, Dynamic Pre-Share Key (สิทธิบัตรของ Ruckus- ผู้เรียบเรียง) หรือจะใช้งาน 802.11x  ร่วมกับ Radius Server ก็ได้

ในส่วนของ Guest Service ก็ถือเป็นอีกจุดเด่นของ Ruckus ตั้งแต่ที่อยู่บน Controller Platform โดย Guest Pass ไอทีสามารถอนุญาตให้คนที่เป็นแขกเข้าใช้งานอินเตอร์เน็ตในออฟฟิสได้ในหลายเงื่อนไข อาทิ การกำหนดแล้วออกเป็น Ticket ล่วงหน้า ระบุให้กรอก Password ก่อนเข้าใช้งาน หรือว่าจะเป็น Host Approval ที่เป็น ระบบ Self Register แล้วเจ้าหน้าที่ IT ก็เป็นคน approved เพื่ออนุญาตการใช้งานเป็นครั้งๆ ไป  หรือจะใช้วิธี Self Sign-In ที่สามารถ lock in ด้วย Facebook, Google, Twitter,etc  เพื่อใช้งานอินเตอร์เน็ตก็ได้ด้วยเช่นกัน ทั้งนี้เรายังสามารถกำหนดการเข้ามาใช้งานผ่าน SMS Authentication ได้อีกด้วย

การจัดการดูแลระหว่างวันของไอที ก็สามารถทำได้ผ่าน web browser หรือจะเลือกทำผ่าน mobile app ด้วย tablet หรือ มือถือ ก็ได้

Ruckus Cloud ของเราใช้งานผ่าน Google Cloud ที่อยู่บน 3 ภูมิภาคหลัก ครอบคลุมทั่วโลก ได้แก่ในอเมริกา ยุโรป และในเอเซีย ซึ่งตั้งอยู่ที่ฮ่องกง โดยมีระดับ SLA สูงถึง 99.9% และหากเกิดวิกฤตไม่สามารถเชื่อมต่อผ่าน Cloud ได้ Ruckus ก็ยังคงทำงานได้ตามปกติ ในโหมด Pre-Shared Key และ 802.11x

นอกจาก Ruckus Cloud แล้วโซลูชั่นของ Ruckus ที่อยู่บน Cloud ที่มีประโยชน์ไม่แพ้กันได้แก่ Ruckus Analytic  ซึ่งทำงานร่วมกับ Ruckus Cloud และ SmartZone Platform ทั้งที่เป็น Appliance และ ที่เป็น VMware โดยจะเป็นส่วนเสริมที่ทำให้เราสามารถบริหารเน็ตเวิร์คได้ดีมากขึ้น 

Ruckus Analytic

เป็นการผสานเทคโนโลยีในเรื่องของ Big Data + AI (Artificial Intelligence)  และ ML (Machine Learning) มาใช้เพื่อแก้ไขปัญหาเน็ตเวิร์ค โดยที่  Ruckus Analytic  จะมี AI ที่ได้รับจากข้อมูลที่ feed ขึ้นมาบน cloud พร้อมกับการตรวจสอบข้อมูลเน็ตเวิร์คเหล่านั้น ว่าอะไรเป็นปัญหา อะไรไม่ใช่ปัญหา ปัญหาใดรุนแรงมาก ปัญหาใดรุนแรงน้อย นอกจากนั้นเรายังใช้ AI ในการวิเคราะห์ว่าปัญหาที่เกิดขึ้น น่าจะเกิดจากอะไรได้บ้าง พร้อมนำเสนอวิธีการแก้ไขปัญหาว่ามีขั้นตอนอย่างไร เพื่อให้เราสามารถจัดการกับปัญหาไอทีที่เกิดขึ้นได้ง่ายดายมากยิ่งขึ้น

Ruckus Analytic จะมีหน้า dashboard ที่บอกถึงภาพรวมว่า มี incident ใดเกิดขึ้นบ้าง มีการแสดง Network History ในช่วง 24 ชั่วโมงที่ผ่านมา รวมถึงมีการแสดงผลข้อมูลเปรียบเทียบกับ SLA ที่เราตั้งไว้ ว่าหลุดจาก Key Index ในหัวข้อไหนบ้าง

เรายังสามารถเข้าไปดูรายละเอียดเชิงลึกผ่าน Incidence Analytic ซึ่งมี ML ที่จะทำการวิเคราห์ ว่า ปัญหาเน็ตเวิร์คที่แสดงอยู่นั้น เกิดจากอะไร มีผลกระทบกับใคร Mac Address ไหน และจะส่งผลต่อระบบมากน้อยเพียงใด รวมถึงการแสดงข้อเสนอแนะว่า หากจะแก้ปัญหานี้จะแก้ไขได้ด้วยวิธีใด ขั้นตอนอย่างไร  นอกจากนั้นใน Ruckus Analytic ยังมี ระบบ Client Troubleshooting ที่แสดงเส้นทาง การเชื่อมต่ออุปกรณ์ต่างๆ ภายในเน็ตเวิร์ค ซึ่งทำให้เราสามารถเห็นได้ทั้งภาพรวมและรายละเอียดของระบบ เพื่อการตัดสินใจแก้ปัญหาในเน็ตเวิร์คได้อย่างดีที่สุด ทั้งนี้การดูย้อนหลังสามารถดูได้สูงสุดถึง 3 เดือน

ทั้งนี้ในสถานการณ์การแก้ปัญหาที่ไม่รู้ว่า เกิดอะไรขึ้นบ้างกับ device ของยูสเซอร์เราในระบบ Ruckus Analytic สามารถสร้าง Virtual Client เพื่อใช้ simulate ระบบ ทดสอบการทำงานต่างๆ โดยที่ไอทีไม่ต้องไปยุ่งกับเครือง User เลย ซึ่งเรายังสามารถสร้างแบบจำลองเพิ่มในรูปแบบต่างๆ เพื่อดูว่าแต่ละเหตุการณ์เกิดอะไรขึ้นบ้าง และอะไรเป็นปัญหาในแบบจำลองนั้นๆ 

และ Feature ล่าสุด Occupancy Analytic ที่ Ruckus เราได้รับ Input จากผู้ใช้งานทั่วโลก เป็นฟีเจอร์แสดง จำนวนคนเข้ามาที่หน้างาน ออฟฟิส ห้องประชุม ว่ามีคนมากน้อยเพียงไรในพื้นที่นั้น ซึ่งหลังจาก covid ออฟฟิสยุคใหม่ก็จะคำนึงถึง Space ของโต๊ะ จำนวน คนมากสุดที่ใช้ห้องประชุม จำนวนความแออัดของพื้นที่สำนักงาน ซี่งสามารถดู history ย้อนหลังได้สูงสุดถึง 7 วันเลยทีเดียว ซึ่งหากมีจำนวนคนในพื้นที่เกินกว่าที่กำหนดไว้ก็จะสามารถ alert แจ้งได้โดยทันที เพื่อความปลอดภัยและสุขอนามัยของคนในองค์กร

ฟีเจอร์ในส่วนของ Ruckus Cloud และ Ruckus Anlytic ไม่ได้มีเพียงเท่านี้ และหากพี่ๆ ท่านใดสนใจทดสอบ สามารถแจ้งมาได้ที่ทางทีมงานการตลาดหรือฝ่ายขายที่ดูแลท่าน เพื่อเปิดตัว Demo ให้พี่ๆ ได้ทดลองใช้ ซึ่งทาง Ruckus และ Optimus หวังเป็นอย่างยิ่งว่า จะช่วยให้การทำงาน การแก้ปัญหาเน็ตเวิร์ค ง่ายขึ้น และแก้ไขปัญหาได้ตรงจุดมากขึ้น

บรรยายโดยคุณ ธีรพล สุขประไพพัฒน์ | System Engineer CommScope Ruckus Thailand

หากท่านต้องการข้อมูลเพิ่มเติม ทั้งในส่วนของสินค้าและบริการอื่นทีเกี่ยวข้องสามารถติดต่อได้ที่ฝายขายหรือฝ่ายการตลาดของทางบริษัท

โทร : 02-2479898 ต่อ 87 

Email[email protected]

Line : @optimusthailand

Facebook : optimusthailand

สินค้าที่เกี่ยวข้อง

  • CommScope Ruckus Controllers

    ตัวควบคุมเครือข่าย ช่วยลดขั้นตอน ความซับซ้อนการจัดการเครือข่ายทั้งแบบใช้สายและไร้สาย

    CommScope Ruckus, Controllers, Wireless
  • CommScope Ruckus Indoor Access Point

    ผลิตภัณฑ์ระบบไร้สายที่ได้รับการยอมรับเป็นอันดับหนึ่งในกลุ่ม Hospitality ในระดับโลก

    Access Point, CommScope Ruckus, Indoor, Wireless

จุดประกายโดย : คุณ วุฒิชัย ปริญญานุสรณ์

SHARE TO:

Share on facebook
Facebook
Share on twitter
Twitter
Share on linkedin
LinkedIn
Share on email
Email